เมนู

ก็ไม่เหมือนกับกรรม เพราะความที่รูปธรรมเหล่านั้นไม่มีอารมณ์ เพราะฉะนั้น
อรูปธรรมที่มีอารมณ์เท่านั้น ตรัสเรียกว่า วิบาก เพราะเป็นเหมือนกับกรรม
เหมือนผลคล้ายพืชฉะนั้น จริงอยู่ เมื่อเขาหว่านพืชข้าวสาลีแล้ว แม้ในเวลา
ที่ออกหนอและใบเป็นต้นแล้ว เขาก็ยังไม่เรียกว่า ผลของข้าวสาลี แต่เมื่อใด
รวงข้าวสาลีสุกแล้วน้อมลงแล้ว เมื่อนั้นข้าวสาลีเช่นเดียวกับพืชนั่นแหละ เขา
จึงเรียกว่าผลแห่งข้าวสาลี ส่วนหนอและใบเป็นต้น ที่เกิดจากพืช เขาเรียกว่า
เป็นสิ่งที่เกิดแต่พืช ฉันใด แม้รูปก็ฉันนั้นเหมือนกัน ควรเพื่อจะเรียกว่า
เกิดแต่กรรม (กัมมชะ) หรือเรียกว่า อุปาทินนรูป ดังนี้.

ว่าด้วยนิทเทสอุปาทินนติกะที่ 4


พึงทราบวินิจฉัยในอุปาทินนติกะต่อไป.
ขันธ์ทั้งหลายของพระขีณาสพ แม้จะเป็นปัจจัยแก่อุปาทานแก่ชน
เหล่าอื่นผู้พูดอยู่ว่า พระเถระผู้เป็นลุงของพวกเรา พระเถระผู้เป็นอาของพวก
เรา ดังนี้ก็จริง ถึงอย่างนั้น มรรคผลและนิพพาน อันตัณหามานทิฏฐิมิได้
ยึดไว้ มิได้ถือไว้ มิได้มีความยึดถือไว้เลย ด้วยว่ามรรคผลนิพพานเหล่านั้น
ย่อมไม่เป็นปัจจัยแก่การถือเอาด้วยอำนาจตัณหามานทิฏฐิ เพราะอุดมด้วยเดช
เหมือนก้อนเหล็กแดงที่ลุกโชนตลอดวันไม่เป็นปัจจัยแก่การเกาะของพวกแมลง-
วัน ฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า อิเม ธมฺมา อนุปาทินฺนอนุปาทา-
นิยา
(สภาวธรรมเหล่านั้น อันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหามานทิฏฐิไม่ยึด
ครองและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน) ดังนี้.
แม้ในอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรมทั้งหลาย ก็นัยนี้แล.

ว่าด้วยนิทเทสวิตักกะที่ 6 เป็นต้น


ในวิตักกติกะ สภาวธรรมย่อมไม่ได้อยู่ในกุศลติกะกับวิจารที่เกิด
พร้อมกับวิตก. ในปีติสหคตติกะ ธรรมมีปีติเป็นต้นให้ภาวะแห่งธรรมที่เกิด
ร่วมกับตนเป็นธรรมสหรคตกับปีติเป็นต้นแล้ว ตนเองก็เป็นธรรมหมุนไปข้าง
หลัง ในติกะนี้ ไม่ได้สภาวธรรมแม้นี้คือ โทมนัสสสหคตจิตตุปบาท 2
ทุกขสหคตกายวิญญาณ อุเปกขาเวทนา รูป และนิพพาน เพราะติกะนี้ เมื่อ
ไม่ได้กุศลติกะนั่นแหละก็ชื่อว่า พ้นไปจากส่วนทั้ง 5 แม้นี้.

ว่าด้วยนิทเทสทัสสนติกะที่ 8


ในทัสสเนน ปหาตัพพติกะ บทว่า สญฺโญชนานิ (สังโยชน์)
ได้แก่ เครื่องผูก บทว่า สกฺกายทิฏฺฐิ (สักกายทิฏฐิ) ความว่า เมื่อกาย
กล่าวคือเบญจขันธ์มีอยู่ ด้วยอรรถว่า ปรากฏอยู่ หรือตนเองมีความเห็นผิด
ในกายที่มีอยู่นั้น เพราะเหตุนั้น ความเห็นผิดนั้น จึงชื่อว่า สักกายทิฏฐิ.
ส่วนความยึดมั่นที่ยึดถือว่า สัตว์อาจเพื่อบริสุทธิ์ด้วยศีล อาจเพื่อบริสุทธิ์ด้วย
วัตร อาจเพื่อบริสุทธิ์ด้วยศีลพรตดังนี้ ชื่อ สีลัพพตปรามาส.
แม้คำว่า อิธ เป็นนิบาตใช้ในอรรถอ้างถึงประเทศ อิธศัพท์นี้นั้น
ในที่บางแห่งตรัสหมายถึงโลก เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า พระตถาคตเจ้าย่อม
ทรงอุบัติขึ้นในโลกนี้ ดังนี้ ในที่บางแห่งหมายถึงศาสนา เหมือนที่ตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะที่ 1 สมณะที่ 2 มีอยู่ในศาสนานี้เท่านั้น ดังนี้
ในที่บางแห่งหมายถึงโอกาสเหมือนที่ตรัสไว้ว่า
อิเธว ติฏฺฐมานสฺส เทวภูตสฺส เม สโต
ปุนรายุ จ เม ลทฺโธ เอวํ ชานาหิ มาริส